Digital Printing in FESPA 2010 Fabric

Digital Printing in FESPA 2010 Fabric

  ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมผลงานการพิมพ์ที่สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ได้ส่งประกวดในงาน FESPA 2010 ในครั้งนี้ เพราะได้รับรางวัลชนะเลิศที่หนึ่ง 2 รางวัล และ รางวัลที่ 3 อีกหนึ่งรางวัล ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมผลงานการพิมพ์ที่สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ได้ส่งประกวดในงาน FESPA 2010 ในครั้งนี้ เพราะได้รับรางวัลชนะเลิศที่หนึ่ง 2 รางวัล และ รางวัลที่ 3 อีกหนึ่งรางวัลนับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้สวยงาม  ทั้งสามรางวัลได้รับคำชมเชยเป็นอย่างมากของประเทศอื่นๆ   ผู้ที่เป็นตัวแทนขึ้นไปรับรางวัลคือ คุณพัฒนชัย   กุลสิริสวัสดิ์ได้รับการจับมืออย่างมากกับผู้ที่ส่งผลงานประกวดด้วยกันของประเทศต่างๆ เพราะภาพที่ประเทศไทยส่งประกวดที่ได้รับรางวัลที่ 1 ของเรื่อง Special Effect และพิมพ์เสื้อ ทั้งสองรางวัลทำได้ดีมากๆแม้แต่คนที่ได้รับรางวัลที่หนึ่งถึงสามรางวัลของประเทศหนึ่งยังบอกว่าของเราเยี่ยมมากๆ โดยส่วนตัวแล้วก็ยอมรับว่าการออกแบบของทั้งสามรางวัลที่ได้รับดีจริงๆ หากต้องการทราบรายละเอียดว่าเป็นของใครกันที่ทำได้ดีขนาดนี้ ขอแนะนำให้ติดต่อกับสมาคมการพิมพ์สกรีนไทยได้เลย
ในงานแสดงสินค้า FESPA 2010 ในครั้งนี้ทางผู้จัดการจะเน้นอยู่สามเรื่องที่ขึ้นในดิสเพลย์ระหว่างทางเดินเข้างานว่า FABRIC INNOVATION  DIGITAL INNOVATION และ SCREEN INNOVATIONมีอาคารแสดงทั้งหมด  5 อาคารแสดงสินค้า อาคารที่หนึ่งก็จะเป็นผู้ผลิตเคมีและอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน อาคารที่สองก็เน้นในเรื่องของการพิมพ์ผ้าทั้งเรื่องของการพิมพ์สกรีน และดิจิตอลพริ้นติ้ง ส่วนอาคารที่สามถึงห้าก็จะเกี่ยวข้องการพิมพ์งานโฆษณา และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับงานโฆษณาทั้งหลายทั้งเครื่องพิมพ์ หมึกพิมพ์ และวัสดุสำหรับพิมพ์ ถ้าจะกล่าวไปแล้วตั้งแต่อาคารที่สองถึงห้าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทจะมีอยู่ทุกอาคารที่มีมากสุดก็จะเป็นอาคารที่สอง

  ในงาน FESPA 2010 ครั้งนี้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งหากเทียบกับครั้งที่ผ่านมาตรงที่ ในครั้งนี้การพิมพ์ผ้ามีมากกว่าครั้งที่ผ่านมามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทมีผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านมาแต่ที่น่าแปลกใจสักเล็กน้อยก็คือผู้ผลิตเครื่องจักรและวัสดุพิมพ์ต่างๆจากจีนมีน้อยมาก หากไม่เสาะหาอย่างแท้จริงคงจะไม่เจอเป็นแน่ และงานผู้ที่นำสินค้ามาแสดงในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลีกเลี่ยงที่ใช้หมึกพิมพ์ที่มีส่วนผสมของ Solvent หากเป็นการพิมพ์ลงบนผ้าคงไม่ใช่เรื่องที่แปลก แต่สำหรับการทำงานโฆษณาซึ่งจะอยู่ในอาคารที่สาม ถึงห้าแล้วถือเป็นเรื่องของนวัตกรรมเลยทีเดียวเพราะจะสังเกตุเห็นจากผู้ที่นำเครื่องพิมพ์มาแสดงในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะใช้หมึกพิมพ์เชื้อยูวี อาจจะกล่าวได้ว่า 95% เลยทีเดียว หากบู๊ทไหนนำเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกพิมพ์เชื้อ Solvent จะได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานน้อยมากอาจถึงนั่งตบยุงเลยทีเดียว สำหรับเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึกพิมพ์เชื้อยูวี ก็จะมีผู้ผลิตหลายรายที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง จากที่เราเคยเห็นว่าหากพิมพ์แล้วต้องผ่านแสงยูวี ซึ่งถ้าว่าไปแล้วแสงยูวีก็ใช้พลังงานมาก และยังให้ความร้อนสูงส่งผลให้วัสดุที่นำมาพิมพ์เปลี่ยนรูปทรงได้ ดังนั้นหลายๆบริษัทจึงนำเครื่องที่ใช้หลอด LED มาทำให้หมึกพิมพ์แห้งแทนหลอดยูวี ซึ่งประหยัดพลังงานไปได้มากทีเดียว และมีบางบู๊ทก็ใช้หมึกพิมพ์เชื้อน้ำมาพิมพ์ลงบนวัสดุพีวีซีได้นี่ก็เป็นอีกนวัตกรรมใหม่ทั้งสองชนิด
มาถึงตรงนี้ก็จะขอนำเข้าเรื่องตามหัวข้อที่ระบุมาในเบื้องต้นนั้นก็คืองานพิมพ์อิงค์เจ็ทบนผ้า ก่อนอื่นก็ต้องขอกล่าวในส่วนของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับการพิมพ์ผ้าใน FESPA 2010 ครั้งนี้ ลักษณะการพิมพ์จะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือประเภทที่พิมพ์เป็นม้วนหรือที่นิยมเรียกทับศัพท์ว่า TEXTILE กับประเภทพิมพ์เสื้อเป็นตัวหรือที่เรียกว่า GARMENT ทั้งสองชนิดจะใช้เครื่องแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับการพิมพ์ผ้าเป็นม้วนนั้นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ที่นำไปแสดงก็จะมาจากหลากหลายประเทศโดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ชนิดม้วน หรือจะเรียกว่า roll to roll ในทวีปเอเซียของเราก็จะมาจากเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น สำหรับในยุโรปแล้วมากมายหลายประเทศจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียวรายใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายเช่น ผู้ผลิตหน้าใหม่จากค่ายของญี่ปุ่นรายหนึ่ง แต่ก่อนก็ขายเฉพาะหัวพิมพ์ซึ่งคุณภาพดีมากมานานผู้ผลิตเครื่องทั่วโลกซื้อหัวพิมพ์ของรายนี้ไปผลิตเครื่องพิมพ์อีกทีหนึ่ง ในงาน FESPA ครั้งนี้ก็เปิดตัวเครื่องพิมพ์โดยใช้ยี่ห้อของตนเองความเร็วในการพิมพ์ก็ไม่น้อยหน้าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์รายเดิมๆเลย และยังมีเครื่องพิมพ์จากค่ายของยุโรปอีกหลายประเทศที่นำเครื่องของตัวเองมาออกงานในครั้งนี้ หากเดินเพลินในอาคารแสดงสินค้านี้อาจจะนึกไปว่านี่เป็นงานแสดงสินค้าเรื่องของการพิมพ์หรือเปล่าเพราะมีอะไรหลากหลายจริงๆคราวนี้มาดูที่หมึกพิมพ์ที่นำมาใช้กันมากสำหรับการพิมพ์ผ้าในงานครั้งนี้คือ Sublimation มีทั้งชนิดที่พิมพ์ตรงลงบนผ้า แต่ผ้าที่ใช้พิมพ์คือผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ต้องผ่านการเตรียมผิวเพื่อรองรับหมึกพิมพ์มาก่อนหน้าแล้วและเมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจะต้องนำไปผ่านการทำให้หมึกพิมพ์ซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อผ้า การพิมพ์ในลักษณะหาดูได้ง่ายและมากเป็นพิเศษในงานครั้งนี้ เรียกว่าวิธีการเดิมคือการพิมพ์ลงบนกระดาษและนำไปถ่ายโอนลงบนผ้าอีกทีหนึ่งลดจำนวนลงมาก หากไม่ตั้งใจหาจริงก็จะหาไม่เจอ

  ที่กล่าวมาข้างต้นคือเรื่องของการพิมพ์ผ้าแบบม้วน หรือ TEXTILE คราวนี้มาดูในส่วนของการพิมพ์ลงบนเสื้อเป็นตัวหรือ GARMENT โดยเริ่มจากเครื่องพิมพ์ก่อน ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการพิมพ์ผ้าเป็นม้วนที่มีผู้ผลิตมากมาย และในเอเซียก็จะเห็นจากเกาหลีใต้แต่ที่เห็นมากที่สุดเห็นจะเป็นผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ที่นำแสดงกันหลากหลายยี่ห้อ ในแต่ละยี่ห้อก็มีจุดเด่นจุดดีที่แตกต่างกันออกไป ที่เห็นว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะดีคือการเติมซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เข้าไปในเครื่องพิมพ์เพื่อที่จะคำนวนเรื่องของราคาค่าหมึกพิมพ์ตามขนาดที่กำหนดรวมไปถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการพิมพ์ภาพแต่ละภาพ การพิมพ์เสื้อเป็นตัวนี้ก็มีเครื่องพิมพ์อยู่สองประเภทใหญ่ๆคือ เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กเปรียบได้กับเครื่องพิมพ์ที่เราใช้สำหรับงานพิมพ์เอกสารที่โต๊ะทำงานของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์ขนาดนี้การลงทุนไม่มากสามารถซื้อได้เพื่อนำไปประกอบธุระกิจในแนวพอเพียงและเครื่องพิมพ์อีกประเภทหนึ่งคือเครื่องสำหรับงานอุตสาหกรรม ราคาเครื่องพิมพ์ก็จะแพงมากขึ้นไปตามขนาดความเร็วของการพิมพ์ สำหรับเครื่องพิมพ์ทั้งสองแบบข้างต้นนี้ เครื่องพิมพ์ที่ได้พัฒนามากสุดก็คือเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีการนำเอาหัวพิมพ์ที่มีความเร็วในการพิมพ์สูงเข้ามาใช้งานมากขึ้นแต่ก็เป็นเพียงแค่หัวพิมพ์ที่ราคายังไม่แพงเกินไป เหมือนกับเครื่องระดับอุตสาหกรรม นอกจากหัวพิมพ์ที่นำมาเพิ่มเติมแล้ว ในเรื่องของตลับหมึกพิมพ์ก็มีการพัฒนามากขึ้นหากมองย้อนกลับไปหากเราต้องการพิมพ์บนเสื้อพื้นเข้ม ในอดีตจะมีตลับหมึกพิมพ์สีขาวสำหรับรองพื้นอยู่เพียงตลับเดียวหรือดีหน่อยก็สองตลับเมื่อพิมพ์งานแต่ละครั้งใช้เวลาค่อนข้างนาน หากแต่ในครั้งนี้ผู้ผลิตเพิ่มเป็นสี่ตลับจึงทำให้ความเร็วมากขึ้นทันตาเห็น อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือการนำซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการขาย กล่าวคือลูกค้าสามารถสั่งพิมพ์เสื้อตามแบบที่ตัวเองออกแบบได้เองโดยผู้ผลิตจะมีแบบมาตรฐานมาให้และลูกค้าสามารถเลือกลวดลายต่างๆตามต้องการ หรือจะใส่ตัวหนังสือ หรือจะเลือกลายผสมกันก็ย่อมได้ ซอฟแวร์ตัวนี้จะขายพร้อมกับเครื่องของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์รายหนึ่ง

  สำหรับการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของงานพิมพ์ก็เป็นอีกวิธีทางหนึ่งของการตลาด คือการนำเอาหลายๆวิธีมาผสมผสานเพื่อเพิ่มมูลค่าของงาน หรือจะกล่าวตรงก็คือการเพิ่มราคาค่าพิมพ์นั่นเองวิธีการที่นำเสนอในงานแสดงสินค้าในครั้งนี้ก็คือการผสมผสานระหว่างงานพิมพ์ด้วยระบบสกรีน บวกกับงานพิมพ์ระบบอิงค์เจ็ท และงานปักด้วยจักรคอมพิวเตอร์บนเสื้อ หรือจะใช้ฟอล์ย เพิ่มขึ้นอีกก็ย่อมได้ผลงานที่ออกมาถือว่าเป็นความแปลกใหม่ที่น่าดูชมเลยทีเดียว วิธีการเช่นนี้อาจจะดูว่าค่อนข้างจะเป็นไปได้ยากสำหรับการทำงานในบ้านเรา แต่อย่าลืมว่าในเยอรมันเองแต่ก่อนก็มีปัญหาแบบเดียวกับเราแต่ทำอย่างไรถึงจะหนีคู่แข่งขันได้ จึงทำให้ผู้ผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆคิดค้นทั้งในด้านซอฟแวร์ และฮาร์ดแวร์เพื่อมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นทุกเวลา
งานพิมพ์ดิจิตอลบนผ้านั้นโดยทั่วไปจะนึกถึงเฉพาะการพิมพ์ลงบนผ้าทั้งผ้าเป็นผืน และผ้าเป็นม้วนเพื่อจุดประสงค์ในการทำเครื่องนุ่งห่ม แต่สำหรับงานพิมพ์ดิจิตอลด้วยแล้วสามารถที่จะนำไปใช้ทั้งงานโฆษณาซึ่งก็ได้เห็นกันโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบยุโรปที่กีดกันวัสดุที่ผลิตจากพีวีซี และงานพิมพ์ผ้าที่ใช้กับเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ภายในบ้านทั้งโฟซา  งานพิมพ์อิ้งค์เจ็ทลงบนพรมต่างๆ และอื่นๆอีกมากมายเรียกได้ว่าใครได้ไปชมงานแสดงสินค้าในครั้งนี้สามารถหาดูนวัตกรรมใหม่ทั้งเรื่องของการพิมพ์ผ้า งานสกรีน และงานพิมพ์อิงค์เจ็ทตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดงานแสดงสินค้าที่กำหนดไว้ได้ดีทีเดียวเลย 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้